วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผักบุ้งไทย

1. ชื่อ ผักบุ้งไทย
2. ชื่ออื่น ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forsk.
4. วงศ์ CONVOLVULACEAE
5. ชื่อสามัญ Swamp cabbge
6. แหล่งที่พบ ทั่วไปของทุกภาค
7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามพื้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกหรือลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-10 ซม. กว้าง 1-9 ซม.
ดอก เป็นรูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาวหรือ สีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี
5 อัน ยาวไม่เท่ากัน ผล เป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด เถา
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่ถ้าหากมีน้ำมากก็จะทำ ให้ลำต้นเจริญงอกงามดี
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี (มีมากฤดูฝน)
13. การปรุงอาหาร ยอด ใบอ่อน นำมารับประทานสดหรือลวกต้มให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ นำไปประกอบ อาหาร เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว 15. ลักษณะพิเศษ ผักบุ้ง รสจืดเย็น ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา

อันตราจากผักบุ้ง

ผักบุ้งทะเล แก้พิษ

ผักบุ้งทะเล แก้แมลงกัดต่อย



ผักบุ้งทะเล

ชื่ออื่น ละบูเลาห์ (มลายู นราธิวาส)
ลักษณะ ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้
ทะเล คงต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกดอกช่อ 5-6 ดอก
กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆจะหุบและเหี่ยว ผลเป็นผลแห้ง แตกโด้
ส่วนที่ใช้ เถา ใบสด

สรรพคุณ สมุนไพร
สมุนไพร แก้ แมลงกัดต่อย การที่ผักบุ้งทะเลสามารถแก้พิษแมลงกัดต่อยได้ เพราะในผักบุ้งทะเลมีสาร โวลาไทล์ เอสเดอร์ จึงลดอาการอักเสบ ปวดแสบ ปวดร้อนของพิษแมงกะพรุนหรือแก่ลงกัดต่อยได้ และสามารถต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ได้เชนกัน ใช้ใบและเถาผักบุ้งทะเลจำนวนหนึ่ง ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆหรือใช้สมุนไพรพอกบริเวณนั้น

การปลูกผักบุ้ง

ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทย มี ประเภท ผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatic Var. aquatica) มีดอกสีม่วงอ่อน ก้านสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม และก้านใบสีม่วง และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica Var. reptans) ซึ่งมีใบสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกสีขาว ผักบุ้งจีนนิยมนำมาประกอบอาหารกว้างขวางกว่าผักบุ้งไทย จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนาเป็นพืชผักส่งออกที่มีความสำคัญ โดยส่งออกทั้งในรูปผักสด และเมล็ดพันธุ์ การส่งออกเฉพาะผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสดไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะรวมผักบุ้งจีนในหมวดผักสดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผักสดชนิดต่าง ๆ ตลาดที่สำคัญคือฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนประเทศไทยสามารถส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในปี 2538 ปริมาณ 540.6 ตัน มูลค่าการส่งออก 19.8 ล้านบาท


ผักบุ้งจีนใช้เวลาในการงอกเพียง 48 ชั่วโมง ระยะแรกของการเจริญเติบโตจะให้ลำต้นตั้งตรง หลังจากงอกได้ 5-7 วัน จะมีใบเลี้ยงโผล่ออกมา 2 ใบ มีลักษณะปลายใบเป็นแฉก ไม่เหมือนกับใบจริงเมื่อต้นโตในระยะสองสัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งอายุประมาณ 30-45 วัน การเจริญเติบโตจะเปลี่ยนไปในทางทอดยอดและแตกกอ

สำหรับผักบุ้งจีนที่หว่านด้วยเมล็ด การแตกกอจะมีน้อยมาก การแตกกอเป็นการแตกหน่อออกมาจากตาที่อยู่บริเวณโคนต้นที่ติดกับราก มีตาอยู่รอบต้น 3-5 ตา เมื่อแตกแถวออกมาแล้วจะเจริญทอดยอดยาวออกไปเป็นลำต้น มีปล้องข้อ และทุกข้อจะให้ดอกและใบ


1. การเลือกที่ปลูก การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการปลูกผักบุ้งจีนแบบหว่าน หรือโรยเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว 20-25 วัน จะถอนต้นผักบุ้งจีนทั้งต้นและรากออกจากแปลงปลูกไปบริโภคหรือไปจำหน่ายต่อไป ในการปลูกนั้นควรเลือกปลูกในที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สภาพที่ดอน น้ำไม่ท่วม หรือเป็นแบบสวนผักแบบยกร่อง เช่น เขตภาษีเจริญ บางแค กรุงเทพฯ บางบัวทอง นนทบุรี นครปฐม และราชบุรี เป็นต้น ลักษณะดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย เพื่อถอนต้นผักบุ้งจีนได้ง่าย และควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการรดน้ำในช่วงการปลูก และทำความสะอาดต้นและรากผักบุ้งจีนในช่วงการเก็บเกี่ยว


2. การเตรียมดิน ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่มีระบบรากตื้น ในการเตรียมดินควรไถตะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วดำเนินการไถพรวนและขึ้นแปลงปลูก ขนาดแปลงกว้าง 1.5-2 เมตร ยาว 10-15 เมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 40-50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยคอก (มูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย) หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียดพอสมควรปรับหลังแปลงให้เรียบเสมอกัน อย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจะขึ้นไม่สม่ำเสมอทั้งแปลง ถ้าดินปลูกเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับพีเอชของดินให้สูงขึ้น

3. วิธีการปลูก ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนดูดซับน้ำเข้าไปในเมล็ด มีผลให้เมล็ดผักบุ้งจีนงอกเร็วขึ้น และสม่ำเสมอกันดี เมล็ดผักบุ้งจีนที่ลอยน้ำจะเป็นเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำมาเพาะปลูก ถึงแม้จะขึ้นได้บ้าง แต่จะไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจจะเป็นแหล่งทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ดีไม่ลอยน้ำมาหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงให้เมล็ดห่างกันเล็กน้อย ต่อจากนั้นนำดินร่วนหรือขี้เถ้าแกลบดำหว่านกลบเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนหนาประมาณ 2-3 เท่าของความหนาของเมล็ดหรือประมาณ 0.5 เซนติเมตร แต่ถ้าแหล่งที่ปลูกนั้นมีเศษฟางข้าว จะใช้ฟางข้าวคลุมแปลงปลูกบาง ๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน หรือทำให้หน้าดินปลูกผักบุ้งจีนไม่แน่นเกินไป รดน้ำด้วยบัวรดน้ำหรือใช้สายยางติดฝักบัวรดน้ำให้ความชื้น แปลงปลูกผักบุ้งจีนทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน จะงอกเป็นต้นผักบุ้งจีนต่อไป




4. การปฏิบัติดูแลรักษาผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสด

4.1 การให้น้ำ ผักบุ้งจีนเป็นพืชที่ชอบดินปลูกที่ชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะจนมีน้ำขัง ฉะนั้นควรรดน้ำผักบุ้งจีนอยู่เสมอทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ยกเว้นช่วงที่ฝนตกไม่ต้องรดน้ำ อย่าให้แปลงปลูกผักบุ้งจีนขาดน้ำได้ จะทำให้ผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโต คุณภาพไม่ดี ต้นแข็งกระด้าง เหนียว ไม่น่ารับประทาน และเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าปกติ

4.2 การใส่ปุ๋ย ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่บริโภคใบและต้นมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ถ้าดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ หรือมีการใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลสุกร มูลเป็ด ไก่ เป็นต้น ซึ่งปุ๋ยคอกดังกล่าวเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ แต่ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ นอกจากต้องให้ปุ๋ยคอกแล้ว ควรมีการใส่ปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง โดยหว่านปุ๋ยกระจายทั่วทั้งแปลงก่อนปลูกและหลังปลูกผักบุ้งจีนได้ประมาณ 7-10 วัน ซึ่งการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นั้น หลังจากหว่านผักบุ้งจีนลงแปลงแล้ว จะต้องมีการรดน้ำแปลงปลูกผักบุ้งจีนทันที อย่าให้ปุ๋ยเกาะอยู่ที่ชอกใบ จะทำให้ผักบุ้งจีนใบไหม้ ในการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 นั้น จะใช้วิธีการละลายน้ำรด 3-5 วันครั้งก็ได้ โดยใช้อัตราส่วน ปุ๋ยยูเรีย 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะเป็นการช่วยให้ผักบุ้งจีนเจริญเติบโต และเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วขึ้น


เมล็ดเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 2-3 วัน
การให้น้ำ

4.3 การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ถ้ามีการเตรียมดินดีมีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูกและมีการหว่านผักบุ้งขึ้นสม่ำเสมอกันดี ไม่จำเป็นต้องพรวนดิน เว้นแต่ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนดังกล่าวมีวัชพืชขึ้นมาก ควรมีการถอนวัชพืชออกจากแปลงปลูกอยู่เสมอ 7-10 วันต่อครั้ง ในแหล่งที่ปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการค้าปริมาณมาก ควรมีการพ่นสารคลุมวัชพืชก่อนปลูก 2-3 วัน ต่อจากนั้นจึงค่อยหว่านผักบุ้งจีนปลูก จะประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกผักบุ้งจีนได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

4.4 การเก็บเกี่ยว หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงปลูกได้ 20-25 วัน ผักบุ้งจีนจะเจริญเติบโต มีความสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนออกจากแปลงปลูกทั้งต้นและราก ควรรดน้ำก่อนถอนต้นผักบุ้งจีนขึ้นมาจะถอนผักบุ้งจีนได้สะดวก รากไม่ขาดมาก หลังจากนั้นล้างรากให้สะอาด เด็ดใบและแขนงที่โคนต้นออก นำมาผึ่งไว้ ไม่ควรไว้กลางแดดผักบุ้งจีนจะเหี่ยวเฉาได้ง่าย จัดเรียงต้นผักบุ้งจีนเป็นมัด เตรียมบรรจุภาชนะเพื่อจัดส่งตลาดต่อไป

ประเภทผักบุ้งที่ทานกัน

ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท

คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น

ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น คนที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลย เพราะว่าผักบุ้งนั้นมีคุณสมบัติลดความดันโลหิต และถ้าคนที่มีความดันโลหิตต่ำยังรับประทานผักบุ้งเข้าไปอีกก็จะยิ่งต่ำลงไปอีก ก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริว ร่างกายอ่อนแอลงได้ ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานผักบุ้งเลยจะดีที่สุด
ผักบุ้งไทยโดยเฉพาะชนิดต้นขาวจะมีวิตามินซีสูงกว่าชนิดอื่น ๆ ช่วยบำรุงรักษาเหงือก ฟัน ให้แข็งแรง ช่วยทำให้ผิวสวย เลือดดี และเพิ่มความต้านทานโรค ไม่เกิดอาการ แพ้ ต่าง ๆ ง่าย เคล็ดลับอยู่ที่ต้องกินสด ๆ คุณค่าทางวิตามินจะได้ไม่สูญเสียไป

ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม ค่ะและมีสารต้านฮีสตามีน
นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง รวมทั้งมีเส้นใย อาหารที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผักบุ้งยังมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน

สรรพคุณของผักบุ้งไทยต้นขาว
สรรพคุณของผักบุ้งไทยต้นขาวและวิธีการใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของผักบุ้งไทยต้นขาวคือ ดอก ใบ ทั้งต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน ต้นสดใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลืองทั้งต้น ใช้แก้โรคประสาท ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดมาตำ แล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระราก ใช้แก้ไอเรื้อรังและแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม

ผักบุ้งไทย


ผักบุ้งไทย
1. ชื่อ ผักบุ้งไทย
2. ชื่ออื่น ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forsk.
4. วงศ์ CONVOLVULACEAE
5. ชื่อสามัญ Swamp cabbge
6. แหล่งที่พบ ทั่วไปของทุกภาค
7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามพื้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกหรือลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-10 ซม. กว้าง 1-9 ซม.
ดอก เป็นรูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาวหรือ สีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี
5 อัน ยาวไม่เท่ากัน ผล เป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด เถา
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่ถ้าหากมีน้ำมากก็จะทำ ให้ลำต้นเจริญงอกงามดี
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี (มีมากฤดูฝน)
13. การปรุงอาหาร ยอด ใบอ่อน นำมารับประทานสดหรือลวกต้มให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ นำไปประกอบ อาหาร เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว 15. ลักษณะพิเศษ ผักบุ้ง รสจืดเย็น ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา