วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

แกงส้มผักบุ้งกุ้งสด

คุณสรรพคุณ

ประโยชน์ของผักบุ้ง และสรรพคุณประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณมีมากจริง ๆ นะ ใคร ๆ ก็ชอบพูดว่ากินผักบุ้งแล้วจะทำให้ตาหวานไม่ใช่กินผักบุ้งเพราะว่าเต่านะอย่าเข้าใจผิด อิอิอิ คุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะรู้จักกับเจ้าผักบุ้งเป็นอย่างดีเพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายทั่วไปแล้วยังมีตลอดทั้งปีแถมยังไม่ค่อยแพง วันนี้เราจึงนำคุณ ๆ มารู้จักกับ ประโยชน์ของผักบุ้ง และ ผักบุ้งสรรพคุณ ให้มากขึ้น เพื่อว่าใครที่ยังไม่เคยกินผักบุ้งหรือยังไม่ชอบกินผักบุ้ง เมื่อได้รู้ ประโยชน์ของผักบุ้ง แล้วเชื่อว่าจะหันมารับประทานผักบุ้งกันซะยกใหญ่เลย อีกหนึ่งก็คือ สรรพคุณของผักบุ้ง ยังจัดว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้อีกด้วยนะ ว่าแล้วก็มาดูประโยชน์ของผักบุ้งและสรรพคุณกันเลยดีกว่าค่ะ




ประโยชน์ของผักบุ้ง


สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักบุ้ง


- ประโยชน์ของผักบุ้ง

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ :
รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม

ประโยชน์ทางอาหาร :
ผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปีและมีมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูกและการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายในทุกฤดูกาล ผักบุ้งเป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดนับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็นผักสดหรืออาจนึ่ง ลวก และราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำและนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริกและหมู นอกจากนี้ยังนำไปทำแกง เช่น แกงส้มแกงคั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดองและนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดองหรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริกเป็นต้น


- สรรพคุณของผักบุ้ง

สรรพคุณทางยา : ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งโดยเฉพาะผักบุ้งแดงคนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ผักบุ้งไทย

1. ชื่อ ผักบุ้งไทย
2. ชื่ออื่น ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forsk.
4. วงศ์ CONVOLVULACEAE
5. ชื่อสามัญ Swamp cabbge
6. แหล่งที่พบ ทั่วไปของทุกภาค
7. ประเภทไม้ ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดคลานไปตามพื้น
8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบเป็นรูปหอกหรือลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-10 ซม. กว้าง 1-9 ซม.
ดอก เป็นรูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาวหรือ สีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี
5 อัน ยาวไม่เท่ากัน ผล เป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ
9. ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน ใบอ่อน
10. การขยายพันธุ์ เมล็ด เถา
11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ปลูกได้ในดินทุกชนิดขึ้นได้ในที่แห้งแล้ง แต่ถ้าหากมีน้ำมากก็จะทำ ให้ลำต้นเจริญงอกงามดี
12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี (มีมากฤดูฝน)
13. การปรุงอาหาร ยอด ใบอ่อน นำมารับประทานสดหรือลวกต้มให้สุกเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ นำไปประกอบ อาหาร เช่น ผัด แกงส้ม แกงคั่ว 15. ลักษณะพิเศษ ผักบุ้ง รสจืดเย็น ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา

อันตราจากผักบุ้ง

ผักบุ้งทะเล แก้พิษ

ผักบุ้งทะเล แก้แมลงกัดต่อย



ผักบุ้งทะเล

ชื่ออื่น ละบูเลาห์ (มลายู นราธิวาส)
ลักษณะ ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้
ทะเล คงต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกดอกช่อ 5-6 ดอก
กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆจะหุบและเหี่ยว ผลเป็นผลแห้ง แตกโด้
ส่วนที่ใช้ เถา ใบสด

สรรพคุณ สมุนไพร
สมุนไพร แก้ แมลงกัดต่อย การที่ผักบุ้งทะเลสามารถแก้พิษแมลงกัดต่อยได้ เพราะในผักบุ้งทะเลมีสาร โวลาไทล์ เอสเดอร์ จึงลดอาการอักเสบ ปวดแสบ ปวดร้อนของพิษแมงกะพรุนหรือแก่ลงกัดต่อยได้ และสามารถต้านฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ได้เชนกัน ใช้ใบและเถาผักบุ้งทะเลจำนวนหนึ่ง ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆหรือใช้สมุนไพรพอกบริเวณนั้น